พลังจักรวาล

พลังจักรวาล คือ พลังที่มีอยู่ทั่วจักรวาลนี้ ไม่จำกัดว่าเป็นพลังชนิดใด เป็นคำกว้างๆ รวมๆ ทว่า ในกลุ่มผู้ฝึกพลังจักรวาล จะทำสมาธิเพื่อเปิดจักระ เชื่อมตัวเองเข้ากับพลังจักรวาลก่อน เป็นเบื้องต้น หลังจากนั้น การเรียนรู้เรื่อง "พลังจักรวาล" ที่แท้จริง จึงจะเกิดขึ้นได้ (หลังจักระเปิดแล้ว) ก่อนหน้านั้น เหล่ากลุ่มผู้ฝึก พลังจักรวาล จึงยังไม่ได้ศึกษาเรื่องพลังจักรวาลอย่างแท้จริงจะคงเน้นอยู่กับ "การทำสมาธิแบบของตน" ก่อน ซึ่งผมขอนำรายละัเอียดบางส่วนจาก "เว็บอืิ่นๆ" มาลงให้ท่านศึกษาเป็นเบื้องต้น ดังต่อไปนี้


พลังจักรวาล และจักระทั้ง 7


ในร่างกายมนุษย์มีสิ่งมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติซ่อนเร้นอยู่ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างพลังธรรมชาติ จิตวิญญาณและพลังเหนือธรรมชาติเข้าด้วยกัน และอยู่ภายใต้อำนาจของสมาธิ เราเรียกสิ่งมหัศจรรย์นี้ว่า “จักระ (Chakra)”
จักระ (Chakra) เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “กงล้อ” ซึ่งเป็นลักษณะของลำแสงที่แผ่ออกมาเป็นวงคล้ายกลีบดอกบัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ลำแสงที่มีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัวนี้จะหมุนอยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดสีสรรต่าง ๆ เหมือนประกายไฟ มีสีที่ต่างกันออกไป จักระในร่างกายมี 7 จุด ผู้ที่ผ่านการกระตุ้นจักระและฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะทำให้จักระหมุนวนรับพลังจักรวาลที่อยู่รอบตัวเข้าสู่จักระทั้ง 7 และหากสามารถพัฒนาอำนาจจิตให้สูงขึ้นก็จะสามารถมองเห็นรูปร่าง แสง สี และการหมุนได้อย่างชัดเจน

จักระทั้ง 7 มีดังต่อไปนี้

จักระที่ 1 มูลธารจักระ (The Base Chakra)
ตั้งอยู่ระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์กับทวารหนัก เป็นพื้นฐานของพลังชีวิต มีหน้าที่ดูดซับพลังคุนดาลินี (Kundalini = งูไฟ หรือ Serpent Fire) จากโลก โดยปกติแล้วจักระนี้จะไม่มีการกระตุ้นอย่างเด็ดขาดเพราะอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกาย สีที่สัมพันธ์คือ สีแดง มี 4 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 1 คือ ทับทิม โกเมน

จักระที่ 2 สวาธิษฐานจักระ (The Sacral Chakra)
ตั้งอยู่ที่ปลายกระดูกสันหลังใต้ก้นกบ เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศและความเชื่อมั่นในตนเอง มีหน้าที่กระจายพลังที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือต่อมสืบพันธุ์ (Gonads Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีส้ม มี 6 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 2 คือ โกเมนสีส้ม คาร์เนเลี่ยนสีส้มแดง

จักระที่ 3 มณีปุระจักระ (The Solar Plexus Chakra)
ตั้งอยู่บริเวณสันหลังที่ตรงกับบั้นเอว มีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ผลิตโลหิต เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ดิบ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีเหลือง มี 10 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 3 คือ บุษราคัม ซิทริน

จักระที่ 4 อนาหตะจักระ (The Heart Chakra)
ตั้งอยู่กลางกระดูกสันหลังระดับที่ตรงกับหัวใจ เป็นศูนย์รวมของความรัก ความเมตตากรุณา ความเสียสละ การพัฒนาจิตใจ ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมไธมัส (Thymus Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีเขียว มี 12 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 4 คือ มรกต เพอริโด

จักระที่ 5 วิสุทธิจักระ (The Throat Chakra)
ตั้งอยู่ตรงกระดูกต้นคอ เป็นจักระที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หอบหืด โรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีน้ำเงิน มี 16 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 5 คือ ไพลิน เทอร์ควอยซ์ ลาปิสลาซูลิ อะคัวมารีน

จักระที่ 6 อาชณะจักระ (The Third Eye Chakra)
ตั้งอยู่กลางหน้าผาก เป็นจักระที่เปรียบเหมือนดวงตาของปัญญา เป็นจุดกำเนิดของญาณหยั่งรู้ เป็นตาที่ 3 เป็นพาหนะแห่งญาณวิเศษสำหรับการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีคราม มี 96 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 6 คือ อะมีธีสต์สีม่วงคราม โซดาไลต์

จักระที่ 7 สหัสธารจักระ (The Crown Chakra)
ตั้งอยู่กลางกระหม่อม เปรียบเป็นมงกุฎดอกบัว เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระในร่างกาย เป็นสถานที่รับพลังแห่งจักรวาลและกระจายไปทั่วร่างกาย ต่อมที่สัมพันธ์กับจักระนี้คือ ต่อมเม็ดสน (Pineal Gland) สีที่สัมพันธ์คือ สีม่วง มี 972 เส้นแสง อัญมณีที่สัมพันธ์กับจักระที่ 7 คือ อะมีธีสต์

หมายเหตุ เนื่องจากชื่อของแต่ละจักระเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อนำมาสะกดเป็นภาษาอังกฤษแล้วอ่านเป็นภาษาไทยจึงมีความแตกต่างไปบ้างแล้วแต่ตำรา หากผู้อ่านไปศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มอื่นหรือไปเข้ารับการฝึกวิชาพลังจักรวาลหรือพลังกายทิพย์แล้วพบว่าเรียกชื่อจักระผิดเพี้ยนไปบ้าง ก็ขอให้เข้าใจว่าเป็นชื่อเดียวกัน

เคยมีผู้มาสอบถามผู้เขียนเกี่ยวกับการทำสมาธิเพื่อกระตุ้นจักระทั้ง 7 โดยการใช้อัญมณี ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีหนังสือหลายเล่มเขียนอธิบายไว้คล้าย ๆ กันคือ ให้เอาอัญมณีวางไว้ตรงกับจักระที่ต้องการกระตุ้น แล้วกำหนดสมาธิสร้างจินตนาการว่าจักระได้ดูดซับเอาพลังที่อยู่ในอัญมณีเข้ามาไว้กับตัว สำหรับเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าจักระ เป็นสิ่งที่สำคัญที่มีอิทธิพลทั้งทางบวกและทางลบกับร่างกาย การกระตุ้นจักระโดยขาดความรู้อย่างแท้จริงจะทำให้การทำงานของจักระทั้ง 7 ขาดความสมดุล ส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายโดยรวมขาดความสมดุลตามไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของการเจ็บป่วยที่หาสาเหตุไม่ได้ เป็นต้นว่า นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ คลื่นไส้ เดินโคลงไปเอียงมาร่างกายขาดความสมดุล ซึ่งโรคจำพวกนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ นอกจากจะต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังทำการปรับสมดุลร่างกายให้เท่านั้น

การกระตุ้นจักระอย่างถูกวิธีคือ จะต้องฝึกลมปราณ ทำสมาธิ และกระตุ้นทีละจักระ ภายใต้การแนะนำและควบคุมของอาจารย์ที่สำเร็จวิชานี้แล้ว การฝึกจะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน ให้ร่างกายได้ปรับตัว เพราะผู้ที่ไม่เคยฝึกลมปราณมาก่อนจักระจะอ่อนแอ ไม่สามารถรับการกระตุ้นอย่างทันทีได้ ในการฝึกจะใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะกระตุ้นได้ครบทุกจักระ และเมื่อฝึกสำเร็จจักระจะแข็งแรง เราก็สามารถมาฝึกหรือกระตุ้นจักระโดยวิธีอื่น เช่น การใช้ ควอทซ์ คริสตัล หินสี อัญมณีต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย

ในการเขียนเรื่องจักระนี้ อาจมีข้อความบางส่วนแตกต่างไปจากเรื่องจักระที่เขียนกันในหนังสือเกี่ยวกับอัญมณีและหินสีที่มีวางขายอยู่ทั่วไป เนื่องจากผู้เขียนได้ใช้แนวทางของวิชากายทิพย์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณย่าเยาวเรศ บุนนาค (ผู้ค้นพบวิชาพลังกายทิพย์หรือพลังจักรวาล คือ หลวงปู่ดาสิรา นาราดา พระภิกษุชาวศรีลังกา มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ.1846 – 1924 หลวงปู่ดาสิราได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้กับ พล.ร.ต.หลวงสุวิชานแพทย์ อดีตแพทย์ใหญ่กองทัพเรือ ซึ่งท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2435 – 2522 พล.ร.ต.หลวงสุวิชานแพทย์ นอกจากเป็นแพทย์ที่มีความสามารถสูงแล้วยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์อีกด้วย ท่านเห็นว่าโรงแรมเอราวัณ หรือในปัจจุบันคือโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ สร้างผิดรูปแบบ จึงได้แนะนำให้สร้างศาลพระพรหมเป็นการแก้เคล็ด ซึ่งต่อมาศาลท้าวมหาพรหมโรงแรมเอราวัณก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลก พล.ร.ต.หลวงสุวิชานแพทย์ ได้ถ่ายทอดวิชาพลังกายทิพย์ให้กับคุณย่าเยาวเรศ บุนนาค ในปี พ.ศ.2500 คุณย่าเยาวเรศ เป็นผู้มีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์เป็นอย่างสูง ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาโหราศาสตร์มาจาก อ.เทพย์ สาริกบุตร และเคยได้รับการยกย่องเป็น 10 ยอดโหรของเมืองไทยในอดีต





 

0 comments:

Post a Comment